ร้านตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของบริษัท กิฟฟารีน ฯ
ร้านตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของบริษัท กิฟฟารีน ฯ
เรื่องน่ารู้ แคลเซี่ยม แร่ธาตุ และวิตามินต่าง ๆ

แคลเซียมเสริมสุขภาพ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกและฟัน อีกทั้งป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน

หน้าที่สำคัญของแคลเซียม

  • เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันความผิดปกติของกระดูกและฟัน เช่น กระดูกหักง่าย หลังโก่งงอ กระดูกเรียง ผิดรูป หรือฟันหักง่าย
  • ป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน ช่วยสร้างเนื้อกระดูกให้มีความหนาแน่นมากขึ้น
  • ช่วยให้การเจริญเติบโตในด้านความสูงและความแข็งแรงของเด็กในวัยเจริญเติบโต

วิตามินและแร่ธาตุอื่นๆ มีคุณประโยชน์ดังนี้ (อ้างอิงที่ 1)

  • วิตามิน ดี 3 เสริมประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมให้ดีขึ้น
  • แมกนีเซียม ในร่างกายส่วนมาก (60-70%) จะพบในกระดูกแมกนี้เซียมจำเป็นสำหรับการเติบโตของกระดูก การล่งสัญญาณทางประสาท และการหดตัวของกล้ามเนื้อ การได้รับแมกนีเซียมในขนาดที่เหมาะสมจะช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง
  • แมงกานีส เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นในการพัฒนาของกระดูกตามปกติจำเป็นสำหรับการสร้างเสริมระบบโครงร่างของร่างกาย
  • วิตามิน ซี เป็นวิตามินที่มีกลไกในการต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant)และยังช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรง ช่วยในการ ดูดซึมแร่ธาตุต่างๆ และเสริมสร้างเซลล์ให้แข็งแรง 
  • สังกะสี จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต การเจริญของระบบพันธุ์ สำคัญในการสร้างกระดูกตามปกติ และช่วยในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์
  • ทองแดง มีความสำคัญในระบบโครงสร้างเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ร่วมกับวิตามินซีในการสร้างอีลาสติน จำเป็นสำหรับการเผาผลาญโปรตีน และการสร้างสีของผิวหนังและสีผม
  • วิตามิน อี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันไม่ให้เซลล์เสื่อมสภาพจำเป็นต่อการเจริญและพัฒนาของเซลล์ประสาท
แคลเซียมกับกระดูก

แคลเซียมเป็นธาตุที่มีมากที่สุดของร่างกาย เป็นโครงสร้างหล่าทีของกระดูกและฟัน ในเด็กแคลเซียมจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและความสูง เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับเด็กในช่วง

  • วัยปีทอง " (Growth spurt) ซึ่งเป็นช่วงสะสมมวลกระดูกสำหรับการเจริญเติบโต และเพิ่มมวลกระดูกให้มีปริมาณสูงสุด สำหรับใน ผู้ใหญ่ หากร่างกายไม่ได้รับแคลเซียมในปริมาณที่พอเพียง ร่างกายจะดึงแคลเซียมที่สะสมอยู่ในกระดูกออกมาใช้ และหากไม่ได้รับอย่างพอเพียงเป็นประจำ แคลเซียมในกระดูกจะถูกดึงออกมามากจนกระทั่งกระดูกพรุน เปราะ ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง จึงแตกหักได้ง่าย แม้ว่าได้รับแรงกระแทกเพียงเล็กน้อย ซึ่งอาการ ดังกล่าวคืออาการของ - โรคกระดูกพรุน - (Osteopoross) โดยหากเป็นรุนแรงแล้วจึงจะแสดงอาการออกมา เช่น ปวดหลังเรื้อรังหลังต่อมจากการยุบตัวลงของกระดูกสันหลัง หรือกระดูกสะโพกหัก ทำให้เดินไม่ได้เหมือนเดิม ในผู้หญิงมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากกว่า ผู้ชายหลายเท่า (ประมาณ 4 เท่าง และผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือน นั้น ในช่วง 5 ปีแรกมวลกระดูกจะลุดลงอย่างรวดเร็ว จึงมีโอกาสเก็ดโรคกระดูกพรุนได้ง่าย ดังนั้น คนที่มีการสะสมมวลกระดูกมากตั้งแต่วัยเด็กถึงวัยหนุ่มสาว เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนและวัยชราจะยังมีมวลกระดูกอยู่เหลือมากกว่าคนที่มีการสะสมมวลกระดูกน้อย และลดความเลี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนในวัยสูงอายุ (อ้างอิงที่ 1-5)

ความต้องการแคลเซียมต่อวัน

สถานการณ์เกี่ยวกับโภชนาการของแคลเซียมในประเทศไทย มีรายงานการสำรวจภาวะการบริโภคอาหารของประชาชนไทย พบว่าโดยเฉลี่ยแล้ว คนไทยรับประทานแคลเซียมจากอาหารประจำวันได้เพียง 301 มก.ต่อวัน ซึ่งค่อนข้างต่ำ (อ้างอิงที่ 6 ขณะที่ทางกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำข้อมูลสารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai Recommended Daily Intakes-Thai RDI) (อ้างอิงที่ 7) โดยแนะนำว่า ปริมาณแคลเซียม ที่ควรรับประทานต่อวันอยู่ที่ 800 มก. หรือเมื่อเทียบกับนมกล่อง(UHT) ซึ่งมีค่าปริมาณแคลเซียมอยู่ที่ 122 มก./100 มล. แล้ว (อ้างอิงที่ 8) เทียบเท่ากับการดื่มนมประมาณวันละ 650 ซีซี หรือประมาณ 3 กล่อง

อย่างไรก็ตามปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการจะเปลี่ยนแปลงตามช่วงอายุ

** ปริมาณความต้องการแคลเซียมในแต่ละวัย

แนะนำอาหารเสริมที่มีแคลเซี่ยม แร่ธาตุ และวิติมินต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย สำหรับเด็กและผู้ใหญ่
แคลเซี่ยมสำหรับเด็ก
แคลเซี่ยมสำหรับผู้ใหญ่
ผลิตภัณฑ์กิฟฟารีนแยกตามหมวดหมู่
เกี่ยวกับเรา
เราคือตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจาก บริษัท กิฟฟารีน ฯ
รหัสสมาชิก : 111062623
ชื่อ : นพมาศ อินทรสูตร
ติดตามคำสั่งซื้อ สอบถาม ร่วมงานกับเรา กรุณาเพิ่มเพื่อน ทักแชท


แชร์หน้านี้


© 20019-2020, onlinesmileshop.com  All Rights Reserved. 

ขอสงวนสิทธิในการคัดลอดบทความหรือรูปภาพ ห้ามนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต
จัดทำโดยนักธุรกิจกิฟฟารีน มิใช่เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของบริษัทกิฟฟารีนสกลายไลน์ยูนิตี้