ร้านตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของบริษัท กิฟฟารีน ฯ
ร้านตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของบริษัท กิฟฟารีน ฯ
เรื่องน่ารู้ พรีไบโอติก
ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น ในแง่ของคุณค่าทางอาหารความปลอดภัย และผลที่ดีต่อสุขภาพ จึงเป็นจุดกำเนิดผลิตภัณฑ์อาหารที่เรียกว่า ฟังก์ชันนอลฟู้ด (Functional food) ซึ่งเป็นอาหารที่มีผลต่อการทำหน้าที่ต่างๆ ใน ร่างกาย ส่งผลดีต่อสุขภาพ โดยมีบทบาทในการลดความเสี่ยงและอัตราในการเกิดโรค อาหารหลายชนิดจัดเป็น Functional food และพบได้ในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะกลุ่มพรีไบโอติก (Prebiotic) และโพรไบโอติก (Problotic) ซึ่งมีผลดีต่อ สุขภาพลำไส้ (อ้างอิงที่ 1)

โพรไบโอติก (Problotte) คือกลุ่มของจุลินทรีย์ที่ดี เมื่อเข้าไปอยู่ในระบบของ ร่างกายแล้วก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของสิงมีชีวิตนัน ๆ โดยจุลินทรีย์นั้นทำหน้าที่ช่วยปรับสมดุลของสภาพแวดล้อมในระบบลำไส้ (อ้างอิงที่ 2)

จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ซึ่งโดยขนาดแล้วไม่สามารถที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ จุลินทรีย์ที่ดีเป็นประโยชน์เรียกว่า โพรไบโอติก และ จุลินทรีย์ก่อโรค คือเป็นชนิดที่ไม่ดี เป็นโทษต่อร่างกายสำหรับจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์หรือโพรไบโอติกนั้น อาศัยอยู่ในร่างกายตรงส่วนของลำไส้ของมนุษย์ ทำหน้าที่ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร ด้วยการเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่ดีมีประโยชน์ให้มากขึ้น ลดปริมาณจุลินทรีย์ก่อโรคลง และกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อต่อสู้กับเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคที่เป็นอันตราย รวมถึง ยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคทำให้ไม่สามารถเกาะติดกับลำไส้ โดยวิธีการหลั่งสารออกมา ต่อต้านจุลินทรีย์ หรือเจริญเติบโตแย่งที่อันเป็นการป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์ก่อโรคเจริญ ขึ้นมาได้ และถูกขับออกทางอุจจาระไป

เชื้อจุลินทรีย์ที่ดีที่เรียกว่าเป็นโพรไบโอติกมีหลายชนิด แต่ที่เป็นที่นิยมอ้างอิงในงานวิจัย ได้แก่ Lactic acid bacteria (LAB) และ Bifidobacteria (อ้างอิงที่ 1)
การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกเพื่อประโยชน์ทางด้านสุขภาพนั้นมีมานานกว่า 20 ปีแล้วเนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์
ปริมาณจุลินทรีย์โพรไบโอติกในผลิตภัณฑ์อาหารควรมีอย่างน้อย 107 น ต่อกรัมหรือมิลลิลิตรของอาหาร เอ้างอิงที่ 3)

พรีไบโอติก (Prebiotic) หมายถึง องค์ประกอบของอาหารที่ไม่มีชีวิต (Non-viable food component) ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้รับประทาน (Host) โดยมีส่วน ช่วยในการปรับชนิดและจำนวนจุลินทรีย์ในลำไส้ คุณสมบัติของสารที่จะถูกจัดให้เป็นพรีไบโอติกมีอยู่ 3 ด้านคือ

  1. ด้านองค์ประกอบ - ต้องไม่ใช่สิ่งมีชีวิตหรือยา แต่เป็นสารที่สามารถบอก ลักษณะทางเคมีได้ โดยทั่วไปเป็นสารที่อยู่ในชั้นคุณภาพอาหาร (Foodgrade)
  2. ด้านประโยชน์ต่อสุขภาพ - สามารถตรวจวัดได้ และไม่ได้เกิดจากการดูดซึมองค์ประกอบเข้าสู่กระแสเลือด หรือไม่ใช่ผลที่เกิดจากการทำงานขององค์ประกอบ นั้นเพียงอย่างเดียวและไม่เกิดผลข้างเคียงที่ควบคุมไม่ได้
  3. ด้านการปรับชนิดและจำนวนจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในลำไส้ (Modulation) - แสดงให้เห็นว่าการที่มีองค์ประกอบของสารนัน มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของส่วนประกอบและการทำงานของจุลินทรีย์ในลำไส้ของผู้รับประทาน โดยมีกลไกการหมัก การยับยั้งตัวรับ 0 (Receptor blockage) หรืออื่น ๆ
ทั้งนี้การที่สารใดจะเป็นพรีไบโอติกได้นั้น ต้องผ่านการทดสอบการประเมิน คุณสมบัติ รวม 3 ด้าน ดังนี้

  1. เป็นสารที่มีความคงตัวเมื่อผ่านเข้ามาในทางเดินอาหารส่วนบนจะทนต่อสภาพความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ทนต่อการย่อยของเอนไซม์และไม่ดูดซึม
  2. สารนั้นจะถูกหมักโดยจุลินทรีย์ในลำไส้ หรือทำหน้าที่อื่นๆ ในลำไส้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่รับประทาน
  3. สารนั้นจะเลือกเฉพาะเจาะจงส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดี คือโพรไบโอติก เช่น จุลินทรีย์บิฟิโดแบคที่เรีย (Bifidobacteria) และแล็กโทบาซิลไล (Lactobacill) ความสามารถในการหมักแบบเลือกเฉพาะเจาะจงนี้เป็นสิ่งที่แยกพรีไบโอติก ออกจากใยอาหารที่ไม่ใช่พรีไบโอติกและต้องเป็นการวิจัยยืนยันผลนี้จากการทดลองในมนุษย์เท่านั้น

กล่าวโดยสรุป สารที่จะจัดว่าเป็นพรีไบโอติกได้ก็ต่อเมื่อมีคุณสมบัติในการเลือก ส่งเสริมการเจริญเติบโตของโพรไบโอติก ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าให้ประโยชน์ต่อการมีสุขภาพดี จุลินทรีย์ที่นำมาใช้เป็นตัวชี้วัด คือ นิฟิโดแบคทีเรีย และแล็กโทบาซิลไล (อ้างอิงที่ 4)

จากรายงานการประชุมด้านเทคนิคขององค์การอาหารและการเกษตรสหประชาชาติระบุว่าพรีไบโอติกที่นิยมใช้กันทั่วไปมีหลายชนิด เช่น อินนูลิน (Inulin), ฟรุคโต-โอลิโก แซคคาไรด์ (Fructo-Oligosaccharides), กาแลคโต-โอลิโกแซคคาไรด์ (Galacto-Oligosaccharides) (อ้างอิงที่ 5) โดยอินนูลินนั้น ทั่วไปจะได้มาจากหัวชิโครี (Chicory root) (อ้างอิงที่ 6.7) สำหรับประโยชน์ต่อสขภาพของพรีไบโอติก โดยเฉพาะอินนลินนั้นสามารถสรุปได้โดยรวมดังนี้

  1. ผลต่อระบบทางเดินอาหาร ที่ลำไส้ (Gut lumen) อินนูลินจะเป็นอาหารให้กับแบคทีเรีย ซึ่งเมื่อแบคทีเรียนำไปใช้ก็จะให้พลังงานและสารบางชนิด เช่น กรดแลกติกและกรดไขมันชนิดสายสั้น (short-chain fatty acids) ซึ่งเป็นผลิตผลจากกระบวนการหมัก ซึ่งการหมักนี้จะทำให้มีการกระตุ้นการเจริญของกลุ่มจุลินทรีย์สุขภาพ (อ้างอิงที่ 2. 7, 8) และสภาวะความเป็นกรดที่เกิดขึ้น จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นโทษบางชนิดในลำไส้ได้ เช่น Clostridium pertringens Salmonella spp. และ Esherichia coli เป็นต้น จึงมีผลช่วยป้องกันอาการท้องเดินโดยเฉพาะจากการติดเชื้อได้ นอกจากนี้ ด้วยคุณสมบัติเหมือนใยอาหารอื่นๆ ก็จะ ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ด้วย อันเป็นผลจากการเพิ่มน้ำหนักของอุจจาระ และผล ต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้จึงช่วยให้ขับถ่ายง่ายขึ้น (อ้างอิงที่ 2) พบว่าอินนูลินยัง ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเซลล์เยื่อบุผิวของลำไส้ จึงช่วยป้องกันโรคลำไส้อักเสบได้ (อ้างอิงที่ 8)

    นอกจากนี้ยังมีการศึกษามากมายที่ชี้ชัดไปว่า อินนูลินสามารถช่วยลดความเสียงการเป็นมะเร็งลำไส้ได้ 7) และยังมีงานวิจัยรองรับที่ชัดเจนว่า การได้รับอินนูลินสามารถเพิ่มจำนวน Bifidobacteria และ Lactobacili ในมนุษย์ได้อย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิงที่ 8. 9)

  2. ผลต่อการดูดซิมแร่ธาตุ จากการหมักพรีไบโอติกโดยแบคที่เรียในลำไส้ ด้กรดไขมันชนิดสายสั้น ความเป็นกรดจะช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุบางชนิดได้ เช่นแคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม และสังกะสี นอกจากนี้อาจด้วยกลไกที่ทำให้มีการ ดึงน้ำเข้ามาช่วยในการละลายเกลือแร่ต่างๆ ได้ จึงมีการคาดการณ์ว่าน่าจะส่งผลช่วยลดความเสี่ยงต่อกระดูกพรุนได้ (อ้างอิงที่ 2) ได้มีงานวิจัยรองรับเรื่องอินนูลินสามารถ ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมและแมกนีเซียม โดยทดลองกับหนู พบว่าสามารถเพิ่มการดูดซึมแร่ธาตุได้จริง (อ้างอิงที 10) และเมื่อมีการทำวิจัยต่อในมนุษย์ เรื่องการเพิ่มการดูดซึมแคลเซียม พบว่าได้ผลเช่นเดียวกัน (อ้างอิงที่ 11)

  3. ผลต่อการเผาผลาญไขมัน มีการศึกษาเกี่ยวกับการช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด (Triglyceride) แต่ยังไม่มีข้อมูลมากนัก ส่วนเรื่องของการลดโคเลสเตอรอลก็เช่นกันอย่างไรก็ตาม มีผู้เสนอกลไกที่เป็นไปได้คือ การที่จุลินทรีย์สุขภาพเจริญจำนวนมากขึ้น ก็จะช่วยย่อยสลายโคเลสเตอรอล และยับยั้งการดูดซึมผ่านผนังลำไส้ หรืออาจเนื่องจากผลจากกระบวนการหมักที่ได้กรดไขมันสายสั้นบางชนิด โดยเฉพาะกรดโพรพิโอนิก (Propionic acid) ซึ่งสามารถไปยับยั้งการสังเคราะห์ไขมันรวมทั้งโคเลสเตอรอล ดังนั้น พรีไบโอติกอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็ง ซึ่งมีสาเหตุจากไขมันได้ (อ้างอิงที่ 2) มีงานวิจัยรองรับว่า การให้อินนูลินในหนูทดลองสามารถช่วยลดโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอรอลในเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิงที่ 12) สำหรับในมนษย์แล้วมีการทดลองให้คินนลิน 2 แบบ คือให้ในปริมาณ 9 กรัมต่อวัน ในรูปแบบของอาหารเช้าประเภทธัญพืช และในปริมาณ 10 กรัมต่อวัน โดยใช้ผง อินนูลินผสมในอาหารหรือเครื่องดื่ม พบว่าสามารถลดไตรกลีเซอไรด์ได้อย่างรวดเร็ว ถึง 27% และ 19% ตามลำดับ และยังช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลลงได้อีกด้วย (อ้างอิงที่ 13)

  4. ผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน มีการรวบรวมงานวิจัยต่างๆ เรื่องอินนูลินกับการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันพบว่า อินนูลินมีผลช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และยังช่วยใน พัฒนาการการสร้างภูมิคุ้มกันของทารกอีกด้วย (อ้างอิงที่ 14)
โดยสรุป อินนูลินช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้และโรคลำไส้อักเสบบรรเทาอาการท้องผูกเนื่องจากผลของการเพิ่มปริมาตรอุจจาระ และผลต่อการเคลื่อนไหวของลำไส้ ช่วยป้องกันท้องเสียท้องเดินจากการติดเชื้อ ลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน เนื่องจากช่วยเรื่องการดูดซึมของแคลเซียม ลดไตรกลีเซอไรด์และโคเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแข็งซึ่งมีสาเหตุจากไขมัน

เอกสารอ้างอิง
1. รู้จัก Problotic และ Preblotic กันหรือยัง, ภัทรา พลับเจริญสุข. บทความทางชีววิทยา. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี (สสวท.) สาขาชีววิทยา. http://www3.ipst.ac.th/
biology/main.php?url=article_view&article_jd=118
2. พรีไบโอติกและโพรไบโอติก : อาหารสุขภาพ. ดร.สุญานี้ พงษ์ธนานิกร. ภาควิชาเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3 พฤศจิกายน 2549, http://www.pharm.chula.ac.th/clinic101_5/article/Radio89,pdr
จุลินทรีย์โพรไบโอติก : การเลือกใหม่ในอุตสาหกรรมอาหาร, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
ฝ่ายเทคโนโลยีอาหาร. http://www.tistr-foodprocess.net/download/article/micro_problotic_th.htm
4. ร่างแนวทางและหลักเกณฑ์การประเมินประสิทธิผลต่อสุขภาพ ความปลอดภัย และการกล่าวอ้างทางสุขภาพของพรีไบโอติกในผลิตภัณฑ์อาหาร. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
http://newsser.fda.moph.go.th/food/file/
Publics/Public%20Hearing/Prebiotic/
Draft_Prebiotic(Sept.2552).doc
5.FAO Technical Meeting on PREBIOTICS, FAO Technical Meeting Report. Food Quality and Standards Service Food. and Agriculture Organization of the United Nations. September 15-16, 2007.
http://www.fao.org/ag/agn/agns/files/
Preblotics_Tech_Meeting_Report.pdf
6.Inulin and oligofructose as dietary fiber: a review of the evidence. Crit Rev Food Sci Nutr. 2001 Jul:41 (5):353-62.
7.Inulin-type fructans and reduction in colon cancer risk: review of experimental and human data.
Br J Nutr. 2005 Apr:93 Suppl 1:573-90,
8. Inulin and oligofructose: impact on intestinal diseases and disorders. Br J Nutr. 2005 Apr:93 Suppl 1:561-5.
9.Effects of inulin on faecal bifidobacteria in human subjects. Br J Nutr. 1999 Nov;82(5):375-82.
10. Dietary inulin intake and age can significantly affect intestinal absorption of calcium and magnesium in rats : a stable isotope approach. Nutr J. 2005: 4: 29.
11. An inulin-type fructan enhances calcium absorption primarily via an effect on colonic absorption in humans.
J Nutr. 2007 Oct: 137(10):2208-12.
12. Dietary inulin lowers plasma cholesterol and triacy/glycere and alters biliary bile acid profile in hamsters.
J Nutr. 1998 Nov:128(11):1937-43.
13. Effects of inulin on lipid parameters in humans. J Nutr. 1999 Jul; 129(7 SuppD: 1471S-3S.
14. Inulin and oligofructose: review of experimental data on immune modulation.
J Nutr. 2007 Nov;137(11 Suppl):2563S-2567S.|
ขอแนะนำผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วย พรีไบโอติก
ผลิตภัณฑ์กิฟฟารีนแยกตามหมวดหมู่
เกี่ยวกับเรา
เราคือตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจาก บริษัท กิฟฟารีน ฯ
รหัสสมาชิก : 111062623
ชื่อ : นพมาศ อินทรสูตร
ติดตามคำสั่งซื้อ สอบถาม ร่วมงานกับเรา กรุณาเพิ่มเพื่อน ทักแชท


แชร์หน้านี้


© 20019-2020, onlinesmileshop.com  All Rights Reserved. 

ขอสงวนสิทธิในการคัดลอดบทความหรือรูปภาพ ห้ามนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต
จัดทำโดยนักธุรกิจกิฟฟารีน มิใช่เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของบริษัทกิฟฟารีนสกลายไลน์ยูนิตี้