ร้านตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของบริษัท กิฟฟารีน ฯ
ร้านตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของบริษัท กิฟฟารีน ฯ
เรื่องน่ารู้ สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อดวงตา
ดวงตา ทำหน้าที่เป็นอวัยวะรับความรู้สึกด้านการมองเห็น ถ้าเรานอนวันละ 6 ชั่วโมง นั่นคือเราใช้ดวงตา วันละ 18 ชั่วโมง เดือนละ 540 ชั่วโมง ปีละ 6,480 ชั่วโมง โดยเฉพาะในปัจจุบัน เราใช้สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน อ่านหนังสือหรือใช้สายตาในที่แสงน้อย หรือสัมผัสแสงอาทิตย์และแสงยูวีปริมาณมาก ดังนั้น อาการเสื่อมถอยของสุขภาพตาจึงหลีกเลี่ยงได้ยาก แต่สามารถชะลอได้ หากเรารู้วิธีการป้องกัน และรู้จักสารอาหารที่จะเข้าไปฟื้นฟูสภาพหรือบำรุงเซลล์ต่างๆ ภายในดวงตา (อ้างอิงที่ 1) ตัวอย่างของสารอาหารดังกล่าว ได้แก่

1. ลูทีน (Lutein) และซีแซนทีน (Zeaxanthin)
ลูทีน และชีแซนทีน เป็นสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ ที่ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ จำเป็นต้องได้รับจากอาหาร และเป็นแคโรทีนอยด์ 2 ชนิดเท่านั้นที่พบอยู่ที่จุดรับภาพของลูกตา (Macula) และที่เลนส์ของตา ทั้งคู่ทำหน้าที่ช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลาย โดยการลดอนุมูลอิสระและกรองแสงสีฟ้าที่จะทำลายดวงตา มีประโยชน์ในโรคที่เกี่ยวกับดวงตาที่สำคัญคือ โรคต้อกระจก (Age-related cataract. ARC) และโรคจอประสาทตาเสื่อม (Age-related macular degeneration, AMD) และยังอาจช่วยให้การมองภาพเห็นชัดขึ้น (อ้างอิงที่ 2.3)


โรคต้อกระจก คือภาวะที่กระจกตา และเลนส์ตาขุ่น ทำให้แสงไม่สามารถ ผ่านเข้าไปในตาได้ ต้อกระจกไม่ใช้โรคติดต่อ โดยกระจกตาจะค่อยๆ ขุ่นไปอย่างช้า ๆ ใช้เวลาเป็นปี ๆ และสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด ลูทีนและซีแซนทีนสามารถลด ป้องกัน หรือชะลอการเกิดต้อกระจกได้เพราะมีความสามารถในการช่วยกรองแสง UV และแสงสีฟ้าต้านอนุมูลอิสระและลดความเสียหายที่เกิดจากแสงไปกระตุ้นการออกซิเดชั่นของโปรตีนหรือไขมันในเลนส์ตา (อ้างอิงที่ 3)

การวิจัยที่ Harvard Schod of Public Health, Boston ในกลุ่มผู้ชาย 36,644 คน ที่ได้รับอาหารเสริมและวิตามินต่างๆ พบว่ากลุ่มที่ได้รับลูทีนและซีแซนทีน จะลดความเสี่ยงของต้อกระจกถึง 19% (อ้างอิงที่ 0 และ ที่ University of Massachusetts ทำวิจัยในกลุ่มผู้หญิง 50461 คน พบว่า ลูทีน และซีแซนทีน จะลดความเสี่ยงของต้อกระจกถึง 22% (อ้างอิงที่ 5)

การวิจัยที่ University of Wisconsin Madison Medical School ในคน 1.354 คน พบว่า ช่วยลดอุบัติการณ์ของต้อกระจกที่เกิดตรงกลางเลนส์ (Nuclear Cataracts) ได้ถึง 50% (อ้างอิงที่ 6) จากการวิจัยทั้งหมดนี้ จึงเป็นที่ยอมรับว่า ลูทีนและซีแซนทีน ลดอุบัติการณ์ของโรคต้อกระจกในผู้สูงอายุได้จริง


โรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการเสื่อมของจุดรับภาพ (Macular) ทำให้การมองเห็นภาพขาดความคมชัด เบลอ บิดเบี้ยว บางครั้งอาจรุนแรงจนเห็นจุดดำมาบังภาพอยู่ตลอดเวลา เมื่อแสงผ่านเข้าสู่ตากระจกตาจะสามารถกรองแสงได้เพียงบางส่วน แสงส่วนใหญ่จะถูกส่งผ่านไปยังจอประสาทตา (retina) โดยที่จอประสาทตานี้จะมีจุดโฟกัสที่เรียกว่าแมคูลา ลูเทีย (macula lutea) โดยมีสารสีเหลืองซึ่งประกอบไปด้วย ลูทีน dutein) และซีแซนทีน (zeaxanthin) ทำหน้าที่เป็นสารต้านออกซิเดชันเพื่อปกป้องเซลล์รับแสงจากอันตรายของอนุมูลอิสระ และช่วยกรองแสงสีฟ้า ซึ่งเป็นคลื่นแสงที่มีพลังงานสูง ที่เหนี่ยวนำให้เกิดอนุมูลอิสระ (tree radical ในเซลล์ของจอประสาทตาได้สูงเป็น 100 เท่าของคลื่นแสงสีแดง โดยประมาณ ว่าจะสามารถกรองแสงสีฟ้าลงได้ถึง 40 % ดังนั้น จึงสามารถลดออกซิเดชัน ต่อจอประสาทตาได้อย่างมีนัยสำคัญ (อ้างอิงที่ 2)

ในอดีต เมื่อปี 1994 มีการแนะนำการรับประทานลูทีนและซีแซนทีน ที่ 6 มก.ต่อวัน แต่ล่าสุดได้มีรายงานการศึกษาจากสถาบันดวงตาแห่งชาติในสหรัฐอเมริกา ทำการศึกษาโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของดวงตาเมื่ออายุมากขึ้น (Age-Related Eye Disease Study 2) โดยใช้ลูทีนที่ 10 มสุกๆและ ซีแซนทีนที่ 2 มก.ต่อวัน ต่อเนื่องกันยาวนานกว่า 5 ปี พบว่า ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคจอประสาทตาเลื่อม (อ้างองที่ 7.8) มีการศึกษาสนับสนุนว่า ถ้าปริมาณลูทีนและซีแซนทีนในลูกตาลดน้อยลง จะพบความเสี่ยงมากขึ้นในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อม (อ้างอิงที่ 9) และความเสียงในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อมจะลดลง หากมีปริมาณลูทีนและซีแซนทีนในเลือด สูงขึ้น (อ้างอิงที่ 10.11)

2. แอสตาแซนธิน (Astaxanthin)
แอสตาแซนธิน เป็นสารแคโรทีนอยด์อีกชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเองไม่ได้ต้องได้จากการรับประทานเข้าไป โดยอาจได้จากสาหร่ายสีแดง สายพันธุ์ Haematococcus pluvialis แอสตาแซนธินมีคุณสมบัติเป็นสาร ต้านอนุมูลอิสระ และมีประโยชน์ต่อดวงตา ดังนี้

  • ช่วยทำให้มองภาพได้ชัดขึ้น ด้วยกลไกช่วยในการปรับโฟกัสของเลนส์ตา (Accommodation Function of Eye) (อ้างอิงที่ 12.13)
  • ช่วยลดความเมื่อยล้าของดวงตา จากการใช้งานคอมพิวเตอร์ โดยมีงานวิจัยให้ผู้ที่ทำงานกับจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน จำนวน 26 คน รับประทานแอสตาแซนธินวันละ 5 มก. เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าอาการตาเมื่อยล้าตีขึ้น (อ้างอิงที่ 14)
  • ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปยังดวงตา ทำให้ดวงตามีสุขภาพที่ดี และ ช่วยลดอาการล้าของดวงตาได้ (อ้างอึงที่ 15) กล่าวได้ว่าแอสตาแซนธิน คือสารอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องใช้สายตามากผู้ที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ หรือจ้องจอต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน

3. วิตามิน เอ (Vitamin A) และวิตามินอี (Vitamin E)
วิตามินเอมีล่วนช่วยคงสภาพปกติของการมองเห็น และมีส่วนช่วยคงสภาพปกติของเยื่อบุต่างๆ หากขาดจะทำให้มองเห็นได้ยากในเวลากลางคืนหรือในที่แลงสว่างน้อยและงานวิจัยพบว่า วิตามินเอช่วยเพิ่มคุณภาพของ น้ำตาในกลุ่มคนที่มีอาการตาแห้งขณะที่วิตามินอีมีส่วนช่วยในกระบวนการ
ก่อต้านอนบอลิสระ

4. สารสกัดจากบิลเบอร์รี่ (Bilberry Extract)
สารสกัดจากบิลเบอร์รี่มีสารสำคัญที่มีประโยชน์คือ แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) มีคุณสมบัติช่วยต้านอนุมูลอิสระ มีประวัติการใช้มาอย่างยาวนานในด้านการบำรุงดวงตา ช่วยให้จอตาเป็นปกติ ชะลอการขุ่นมัวของเลนส์ตา เพิ่มความแข็งแรงของเส้นเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงดวงตา ช่วยเพิ่มการปรับตัวในการมองในที่มีด ช่วยลดอาการล้าของดวงตาได้ (อ้างอิง ที่ 16. 17)

ดังนั้น ดูทีนและทีแซนทีน แอสตาแซนอิน วิตามินเอ วิตามินดี และ
สารสกัดจากบิลเบอร์รี่ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่มีการใช้ชีวิตติดจอโทรศัพท์หรือทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน. ผู้ที่ใช้สายตามากๆอย่างต่อเนื่องเช่น อ่านหนังสือ หรือจับรถนานๆ, เด็กวัยเรียนและวัยเจริญเติบโต, ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคต้อกระจกและโรคจุดรับภาพเสื่อม และผู้ที่ต้องการปกป้องดูแลดวงตา

เอกสารอ้างอิง
1. สารบำรุงตาจากพืชมีสี. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน.
ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2. กินอะไร...ชะลอจอประสาทตาเสื่อม. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน. ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล
3. Yu-Ping Jia, et cl. 2017, Molecules,
4, Brown L et cl. 1999, Am J Clin Nutr.
5, Chasan-Taber L et al. 1999, Am J Clin Nutr.
6. Lyle BJ et al. 1999. Am J Epidemiol.
7. Bronwyn Elsenhauer. et al. 2017. Nutrients
8. NIH study provides clarity on supplements for protection against blinding eye disease. Natlonal Eye Institute.
9. John T.Landrum. et al. 1997. Adv Pharmacol
10. Eye Disease Case-Control Study Group. Arch Ophthalmol. 1993.
11. Seddon JM. et al. 1994. JAMA.
12. Kidd P. 2011. Altern Med Rev.
13. Masayoshi Kajita. et al. 2009. Medical Consultation &
New Remedies.
14, Y asunori N AGAKI, et ol. 2002, J Trad Med,
15, Yasunori Nagaki, et al. 2005, Journal of Clinical Therapeutics and Medicines.
16. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดง ข้อความกล่าวอ้างหน้าที่ของสารอาหาร.
17, Saud A Alanazi, et al. 2019, Clinical Ophtholmology.
18, Bilberry (Vaccinium myrtillus L.). Herbal Medicine:
Blomolecular and Clinical Aspects. 2nd edition.
19. Ozawa Y. et cl. 2015. J Nutr Health Aging.
ขอแนะนำผลิตภัณฑ์ดูแลดวงตา ที่มีลูทีน และซีแซนทีน
ผลิตภัณฑ์กิฟฟารีนแยกตามหมวดหมู่
เกี่ยวกับเรา
เราคือตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจาก บริษัท กิฟฟารีน ฯ
รหัสสมาชิก : 111062623
ชื่อ : นพมาศ อินทรสูตร
ติดตามคำสั่งซื้อ สอบถาม ร่วมงานกับเรา กรุณาเพิ่มเพื่อน ทักแชท


แชร์หน้านี้


© 20019-2020, onlinesmileshop.com  All Rights Reserved. 

ขอสงวนสิทธิในการคัดลอดบทความหรือรูปภาพ ห้ามนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต
จัดทำโดยนักธุรกิจกิฟฟารีน มิใช่เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของบริษัทกิฟฟารีนสกลายไลน์ยูนิตี้